วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ดอกกุหลาบสีน้ำเงิน

ดอกกุหลาบสีน้ำเงิน



: เรา ยังไม่เคยเห็นบลูโรส หรือดอกกุหลาบสีน้ำเงินแท้ๆ กันเลย ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะธรรมชาติของต้นกุหลาบนั้นไม่อาจสร้างเม็ดสีน้ำเงินได้ นั่นเอง

แต่จากเทคโนโลยีด้านยีนที่พัฒนาขึ้นในโลกยุคปัจจุบัน ทำให้เป้าหมายของนักปรับปรุงพันธุ์กุหลาบที่จะสร้างดอกกุหลาบสีน้ำเงินได้มา ถึงแล้ว และไม่ใช่แต่จะอยู่แต่เพียงในห้องปฏิบัติการเท่านั้น บัดนี้กุหลาบดอกสีน้ำเงินได้รับการสร้างเสริมคุณสมบัติให้มีอายุการบานดอก ที่นานขึ้น แถมมีกลิ่นหอม และทนฟรอส หรือน้ำค้างแข็งได้อีกระดับหนึ่ง จีเอมโรส (กุหลาบจีเอม หรือกุหลาบที่ผ่านการเปลี่ยนแปลงยีนแล้วจะเรียกมันว่าอะไรก็ตาม อาจหาชื่อได้ทั่วไปในกลุ่มประเทศอียูปัจจุบัน)

เราเคยเขียนถึง ฟลอริยีน (Florigene) ไปแล้วว่าเป็นบริษัทที่เป็นผู้สร้างและผู้นำการตลาด เรื่องบูลโรส บริษัทนี้มีกลุ่ม ซันตอรี (Suntory) ของญี่ปุ่นเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือพูดง่ายก็เป็นเจ้าของนั่นแหละ บริษัทนี้มองการณ์ไกลไปถึงผลกำไรมหาศาลที่จะได้รับจากผลการสร้างสรรค์สิ่ง ใหม่แก่ชาวโลก ซึ่งมีศักยภาพการตลาดที่สูง ถึงแม้เศรษฐกิจตกต่ำกำลังก่อตัวละมีผลกระทบไปทั่วโลก แต่เราต้องไม่ลืมว่าธุรกิจไม้ตัดดอกนั้นมีเม็ดเงินหมุนเวียนสูงถึง 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และดอกกุหลาบนั้นมีส่วนแบ่งในด้านการตลาดถึง 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐเลยทีเดียว

ผู้ปลูกกุหลาบทุกคนพยายามไขว่คว้า หากุหลาบสายพันธุ์ที่ให้ดอกสีน้ำเงินมาเป็นเวลาหลายร้อยปีแล้ว แต่บริษัทฟลอริยีนนับเป็นบริษัทแรกที่สามารถสร้างกุหลาบพันธุ์นี้ออกมาได้ใน ที่สุด แต่หลายคนก็ยังขอดค่อนว่า “นี่ก็ยังไม่ใช่บลูแท้ ดูมันจะออกไปทางม่วงเสียซะมาก” แต่ผู้บริหารซันตอรี ก็เชื่อว่ามันใกล้เป้าหมายที่สุดแล้ว

สีที่เปลี่ยนแปลงไปในกลีบ กุหลาบนั้นเป็นผลมาจากการถ่ายยีนซึ่งพบในแอฟริกันไวโอเล็ต ซึ่งควบคุมการสร้างเม็ดสีน้ำเงิน ซึ่งเราเรียกว่าเดลฟินิดีน (Delphinidin) ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงหาทางทำให้ยีนของกุหลาบซึ่งปกติจะสร้างเม็ดสีแดง และส้มเปลี่ยนแปลงไป

ในปี พ.ศ. 2539 ฟลอริยีนทำพันธุวิศวกรรมเปลี่ยนแปลงยีนของไม้ตัดดอกไปแล้ว ระยะแรกเขาทำคาร์เนชั่นสีม่วงอ่อนที่เรียกกันว่า มูนดัสท์ (Moondust) ออกมาจวบจนปัจจุบัน เขาผลิตคาร์เนชั่นจำนวนกว่า 75 ล้านดอกได้ส่งขายกระจายไปทั่วโลก

บริษัทฟลอริยีนพัฒนางานต่อไปอีก โดยได้ส่งสายพันธุ์ไม้ตัดดอกจีเอ็มเหล่านี้กว่า 2 โหลออกทดสอบในแปลงปลูก หลังจากที่ได้รับอนุมัติแล้ว โดยมี ต้นแววมยุรา (Torinia) สีเหลือง ซึ่งหายากมากในเมืองไทยแม้ในพ.ศ.นี้

วิธีใช้ยีนเทคโนโลยีดังกล่าวกำลังทำให้ได้ลักษณะใหม่ๆ เช่น

-กลิ่น หอมแนวใหม่ นักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแห่งฟลอริดากำลังทดลองเพื่อให้ได้กลิ่นหอมของ กุหลาบหลายกลิ่น ซึ่งเคยสูญหายไปในระหว่างกระบวนการผสมพันธุ์แบบปกติ

-การ ยืดอายุการบานดอกระหว่างการปักแจกัน นัก วิจัยที่มหาวิทยาลัยฮานโนเวอร์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี กำลังพัฒนาวิธีการที่จะทำให้ยืดอายุการบาน หรือลดความเหี่ยวของดอกบลูเบลส์ (Bulebells) พันธุ์เฟลมมิ่ง เคชีส์ และแคนเตอเบอรี่อยู่

-ปรับปรุงความต้านทาน สำหรับดอกพิทูเนียและพอยเซตเตีย (คริสต์มาส) โดยให้ทนทานต่ออากาศหนาวเย็นและแห้งแล้ง ซึ่งผลทำให้ได้พิทูเนียที่ทนอุณหภูมิ -6 องศาเซลเซียสได้โดยไม่เกิดความเสียหาย แต่ยังไม่อาจผลิตพันธุ์สู่ตลาดได้จนกว่าจะถึงพ.ศ. 2554

สำหรับผู้ ที่เป็นลูกค้าดอกไม้ของอียูคงจะพอใจ และคลายความหวาดหวั่นลงได้บ้างเมื่อกฎหมายบังคับให้ต้องติดป้ายเตือนให้เห็น อย่างชัดเจน เช่น ในกรณีของคาร์เนชั่นพันธุ์ มูนไลท์ (Moonlite) ว่า “ผลิตภัณฑ์นี้เป็นคาร์เนชั่นที่ผ่านการผ่าตัดเปลี่ยนแปลงยีน” และ “ไม่เหมาะแก่การนำไปให้มนุษย์หรือสัตว์บริโภค”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น